วันพุธที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2555

HRM

          
คำว่า HRM ย่อมาจากคำว่า Human Resource Management หมายถึง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ในสถานประกอบการ เป็นเรื่องเกี่ยวกับการวางแผน การกำหนดคุณลักษณะ และคุณสมบัติของประชากร เริ่มตั้งแต่เกิดจนตาย ส่วน HRD ย่อมาจากคำว่า Human Resource Development หมายถึง การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เป็นการเพิ่มพูนคุณสมบัติที่มีอยู่ในตัวมนุษย์ โดยใช้กลวิธีต่าง ๆ

หน้าที่ของการบริหารทรัพยากรมนุษย์  ( HRM)   ในสถานประกอบการ    มีดังนี้
                1.  กำหนดกลยุทธ์ของการบริหารทรัพยากรมนุษย์   ( HRM  Strategy)
                2.  วางแผนเกี่ยวกับกำลังคน หรือ การวางแผนทรัพยากรมนุษย์   ( HR Plainning)
                3.  สรรหา  คัดเลือก  บรรจุแต่งตั้งบุคคล   ( Recuitment +Selection  and  Placement)  ถือว่าเป็นกระบวนการจัดหาบุคคลเข้ามาในองค์การ  ( Procurement)
                4.  การฝึกอบรมและการพัฒนา  ( Human  Resource  Training  and  Development)
                5.  ประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคลากร  ( Performance  Appraisal)
                6.  จัดการบริหารค่าตอบแทน  สวัสดิการและผลประโยชน์  ( Compensation , Benefit  and Service)
                7.  ดำเนินการเกี่ยวกับระเบียบวินัย  ( Discipline)
                8.  ดูแลด้านสุขภาพและความปลอดภัย  ( Safety  and  Health)
                9.  ส่งเสริมเรื่องแรงงานสัมพันธ์  ( Labour  Relation)
                10.  รับผิดชอบดูแลระบบข้อมูล  การตรวจสอบ  และการวิจัยทรัพยากรมนุษย์

                ส่วน  HRD  ย่อมาจากคำว่า    Human  Resource  Development     หมายถึง  การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์   เป็นการเพิ่มพูนคุณสมบัติที่มีอยู่ในตัวมนุษย์  โดยใช้กลวิธีต่าง ๆ  เช่น  ฝึกอบรม   ฝึกปฏิบัติการ  ศึกษาดูงาน  ฯลฯ    ถ้าดูจากหน้าที่ของ  HRM  ดังข้อความข้างต้นแล้ว  จะพบว่า  HRD  อยู่ในข้อ  4    ซึ่งเป็นส่วนหนึ่ง หรือเรียกว่าเป็นเพียงส่วนย่อยของ  HRM  เท่านั้น

วันพุธที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

JIT


JIT คือ
            ในภาษาโปรแกรม Java และสภาพแวดล้อม just-in-time (JIT) compiler โปรแกรมที่เปลี่ยนกลับ bytecode ของ Java ให้เป็นคำสั่งที่สามารถส่งตรงไปที่โพรเซสเซอร์ หลังจากการเขียนโปรแกรม ภาษา Java คำสั่งต้นแบบจะได้รับคอมไพล์ โดย Java compiler เป็น bytecode แทนที่จะเป็นรหัสที่เก็บคำสั่งที่ตรงกันแพล็ตฟอร์มของโพรเซสเซอร์ (เช่น Intel Pentium, IBM System /390) bytecode เป็นรหัสที่ไม่ขึ้นกับแพล็ตฟอร์มที่สามารถส่งไปยังแพล็ตฟอร์มต่าง ๆ และทำงานบนแพล็ตฟอร์ม นั้น ในอดีตโปรแกรมส่วนมาก เขียนในภาษาต่าง ๆ จะต้องมีการคอมไพล์ซ้ำ และบางครั้งต้องเขียนใหม่ สำหรับแต่ละแพล็ตฟอร์ม ข้อได้เปรียบอย่างมากของ Java คือสามารถเขียนและคอมไพล์เพียงครั้งเดียว Java ในแต่ละแพล็ตฟอร์มจะแปล bytecode เป็นคำสั่งที่เข้าใจได้ของโพรเซสเซอร์ อย่างไรก็ตาม virtual machine ดูแล 1 คำสั่ง bytecode ในแต่ละครั้ง การใช้ just-in-time compiler ของ Java ที่แพล็ตฟอร์มเฉพาะคอมไพล์ bytecode เป็นรหัสของระบบนั้น เมื่อรหัสได้รับคอมไพล์โดย JIT compiler จะทำงานได้เร็วในคอมพิวเตอร์
Just-in-time compiler มาพร้อมกับ virtual machine และใช้แบบตัวเลือก JIT compiler จะคอมไพล์ bytecode เป็นรหัส เฉพาะตามแพล็ตฟอร์ม ซึ่งจะประมวลผลทันที Sun Microsystems แนะนำให้เลือก JIT compiler จะทำให้ทำงานเร็วขึ้น โดยเฉพาะเมธอด มีการใช้ซ้ำ
JIT คืออะไร
            ในภาษาโปรแกรม Java และสภาพแวดล้อม just-in-time (JIT) compiler โปรแกรมที่เปลี่ยนกลับ bytecode ของ Java ให้เป็นคำสั่งที่สามารถส่งตรงไปที่โพรเซสเซอร์ หลังจากการเขียนโปรแกรม ภาษา Java คำสั่งต้นแบบจะได้รับคอมไพล์ โดย Java compiler เป็น bytecode แทนที่จะเป็นรหัสที่เก็บคำสั่งที่ตรงกันแพล็ตฟอร์มของโพรเซสเซอร์ (เช่น Intel Pentium, IBM System /390) bytecode เป็นรหัสที่ไม่ขึ้นกับแพล็ตฟอร์มที่สามารถส่งไปยังแพล็ตฟอร์มต่าง ๆ และทำงานบนแพล็ตฟอร์ม นั้น ในอดีตโปรแกรมส่วนมาก เขียนในภาษาต่าง ๆ จะต้องมีการคอมไพล์ซ้ำ และบางครั้งต้องเขียนใหม่ สำหรับแต่ละแพล็ตฟอร์ม ข้อได้เปรียบอย่างมากของ Java คือสามารถเขียนและคอมไพล์เพียงครั้งเดียว Java ในแต่ละแพล็ตฟอร์มจะแปล bytecode เป็นคำสั่งที่เข้าใจได้ของโพรเซสเซอร์ อย่างไรก็ตาม virtual machine ดูแล 1 คำสั่ง bytecode ในแต่ละครั้ง การใช้ just-in-time compiler ของ Java ที่แพล็ตฟอร์มเฉพาะคอมไพล์ bytecode เป็นรหัสของระบบนั้น เมื่อรหัสได้รับคอมไพล์โดย JIT compiler จะทำงานได้เร็วในคอมพิวเตอร์
Just-in-time compiler มาพร้อมกับ virtual machine และใช้แบบตัวเลือก JIT compiler จะคอมไพล์ bytecode เป็นรหัส เฉพาะตามแพล็ตฟอร์ม ซึ่งจะประมวลผลทันที Sun Microsystems แนะนำให้เลือก JIT compiler จะทำให้ทำงานเร็วขึ้น โดยเฉพาะเมธอด มีการใช้ซ้ำ
JIT          
ในภาษาโปรแกรม Java และสภาพแวดล้อม just-in-time (JIT) compiler โปรแกรมที่เปลี่ยนกลับ bytecode ของ Java ให้เป็นคำสั่งที่สามารถส่งตรงไปที่โพรเซสเซอร์ หลังจากการเขียนโปรแกรม ภาษา Java คำสั่งต้นแบบจะได้รับคอมไพล์ โดย Java compiler เป็น bytecode แทนที่จะเป็นรหัสที่เก็บคำสั่งที่ตรงกันแพล็ตฟอร์มของโพรเซสเซอร์ (เช่น Intel Pentium, IBM System /390) bytecode เป็นรหัสที่ไม่ขึ้นกับแพล็ตฟอร์มที่สามารถส่งไปยังแพล็ตฟอร์มต่าง ๆ และทำงานบนแพล็ตฟอร์ม นั้น ในอดีตโปรแกรมส่วนมาก เขียนในภาษาต่าง ๆ จะต้องมีการคอมไพล์ซ้ำ และบางครั้งต้องเขียนใหม่ สำหรับแต่ละแพล็ตฟอร์ม ข้อได้เปรียบอย่างมากของ Java คือสามารถเขียนและคอมไพล์เพียงครั้งเดียว Java ในแต่ละแพล็ตฟอร์มจะแปล bytecode เป็นคำสั่งที่เข้าใจได้ของโพรเซสเซอร์ อย่างไรก็ตาม virtual machine ดูแล 1 คำสั่ง bytecode ในแต่ละครั้ง การใช้ just-in-time compiler ของ Java ที่แพล็ตฟอร์มเฉพาะคอมไพล์ bytecode เป็นรหัสของระบบนั้น เมื่อรหัสได้รับคอมไพล์โดย JIT compiler จะทำงานได้เร็วในคอมพิวเตอร์
Just-in-time compiler มาพร้อมกับ virtual machine และใช้แบบตัวเลือก JIT compiler จะคอมไพล์ bytecode เป็นรหัส เฉพาะตามแพล็ตฟอร์ม ซึ่งจะประมวลผลทันที Sun Microsystems แนะนำให้เลือก JIT compiler จะทำให้ทำงานเร็วขึ้น โดยเฉพาะเมธอด มีการใช้ซ้ำ

EDI


EDI ย่อมาจาก "Electronic Data Interchange" คือ การแลกเปลี่ยนเอกสารทางธุรกิจระหว่างบริษัทคู่ค้าในรูปแบบมาตรฐานสากลจากเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่ง โดยระบบ EDI จะมีองค์ประกอบที่สำคัญอยู่ 2 อย่างคือ การใช้เอกสารอิเล็กทรอนิกส์แทนเอกสารที่เป็นกระดาษ และเอกสารอิเล็กทรอนิกส์เหล่านี้ต้องอยู่ในรูปแบบมาตรฐานสากล ด้วยสององค์ประกอบนี้ทำให้ทุกธุรกิจสามารถแลกเปลี่ยนเอกสารกันได้ทั่วโลก


Electronic Data Interchange (EDI) หมายถึง การแลกเปลี่ยนข้อมูลธุรกิจ ที่ใช้อยู่เป็นประจำในรูปแบบมาตรฐานผ่านทางคอมพิวเตอร์ รูปแบบมาตรฐานที่ใช้จะต้องได้รับการยอมรับจากกลุ่มผู้แลกเปลี่ยนข้อมูล หรือเลือกมาจากมาตรฐานที่พัฒนาจากสถาบันที่ได้รับการยอมรับในการออกมาตรฐานต่าง ๆ เช่น American National Standard Institute (ANSI) หรือ International Standards Organization (ISO) EDI เป็นเทคโนโลยีหลักที่ใช้ในธุรกิจอิเลคทรอนิกส์ (Electronic Commerce) เอกสารจำพวกใบสั่งซื้อ, ใบเสนอราคา, ใบกำกับสินค้า และเอกสารอื่น ๆ เมื่อนำ EDI มาใช้แทนได้ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมากเช่นเดียวกับเทคโนโลยีอื่น ๆ EDI ไม่ได้เป็นเป้าหมายโดยตัวของมันเอง เมื่อได้ใช้งานจะเกิดผลประโยชน์ทางด้าน IT เช่น ลดค่าใช้จ่ายในการคีย์ข้อมูล, ได้ข้อมูลที่ถูกต้องมากขึ้น, ติดต่อสื่อสารได้รวดเร็วขึ้น และลดงานทางด้านเอกสารซึ่งจะช่วยในการตัดสินใจให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

แหล่งที่มา

http://dek-logistic.blogspot.com/2007/10/edi.html
http://th.wikipedia.org/wiki/EDI

ERP


คำว่า ERP ย่อมาจาก Enterprise Resource Planning ค่ะ ความหมายคือ การวางแผนทรัพยากรทางธุรกิจขององค์กรโดยรวม เพื่อให้เกิดการใช้ประโยชน์อย่างสูงสุดของทรัพยากรทางธุรกิจของ
องค์กร เพราะฉะนั้น ระบบ ERP จึงหมายถึง เป็นระบบสารสนเทศขององค์กรที่นำ
แนวคิดและวิธีการบริหารของ ERP มาทำให้เกิดเป็นระบบเชิงปฏิบัติในองค์กรนั่นเอง สามารถบูรณาการ (integrate)รวมงานหลัก (core business process) ต่างๆ ในบริษัททั้งหมด ...ได้แก่ การจัดจ้าง การผลิต การขาย การบัญชี และการบริหารบุคคล เข้าด้วยกัน ให้เป็นระบบที่สัมพันธ์กันและเชื่อมโยงกันอย่าง real time
ปัจจุบัน ERP มีการพัฒนาไปสู่รูปแบบโปรแกรมสำเร็จรูป ERP ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์ประยุกต์มาตรฐาน สามารถได้รับการติดตั้งและใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดย ERP sotfware มีหน้าที่รวบรวมส่วนประกอบทางธุรกิจต่างๆ เช่น งานวางแผน (Planning) งานผลิต (Production) งานขาย (Sale) งานทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource) และงานบัญชีการเงิน (Accounting/Finance) แล้วเชื่อมโยงส่วนงานต่างๆเข้าไว้ด้วยกัน เพื่อให้มีการใช้ข้อมูลร่วมกันจากฐานข้อมูลเดียวกัน มีการใช้กระบวนการที่เป็นมาตรฐานร่วมกัน (Common Processes) ทั้งนี้เพื่อสนับสนุนการทำงานกระบวนการทางธุรกิจขององค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด  ข้อดีของการรวมข้อมูลไว้ในฐานข้อมูลเดียวกัน เพื่อให้ข้อมูลเดียวกันสามารถใช้ร่วมกันทั้งองค์กรได้

ERP sotfware คือ ซอฟต์แวร์ที่มีการรวบรวม หรือผนวกฟังก์ชันงานทั้งหมดในองค์กร หรือมีการเชื่อมโยงในส่วนของโมดูลทั้งหมดเข้าด้วยกัน โดยมีการทำงานในลักษณะแบบเรียลไทม์ และ ERP sotfware จะได้รับการออกแบบมาบนพื้นฐานของวิธีการปฏิบัติที่ดีที่สุดในอุตสาหกรรมนั้นๆ (Best Practice) ก็คือมีการกำหนดในส่วนของกระบวนการทางธุรกิจ ที่มีการทดสอบ และสำรวจมาแล้วว่าเป็นวิธีการที่ดีที่สุดในอุตสาหกรรมนั้นๆ ไว้ในตัวของ ERP sotfware โดยที่ ERP sotfware จะสามารถปรับเปลี่ยนให้เข้ากับลักษณะการดำเนินงานขององค์กรนั้น
ประโยชน์ของ ERP package1. เป็น Application Software ที่รวมระบบงานหลักอันเป็นพื้นฐานของการสร้างระบบ ERP ขององค์กร
ERP package จะต่างจาก software package ที่ใช้ในงานแต่ละส่วนในองค์กร เช่น production control software, accounting software ฯลฯ แต่ละ software ดังกล่าวจะเป็น application software เฉพาะสำหรับแต่ละระบบงานและใช้งานแยกกัน ขณะที่ ERP package นั้นจะรวมระบบงานหลักต่างๆ ขององค์กรเข้าเป็นระบบอยู่ใน package เดียวกัน ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญของการสร้างระบบ ERP ขององค์กร
2. สามารถเสนอ business scenario และ business process ซึ่งถูกสร้างเป็น pattern ไว้ได้
ERP package ได้รวบรวมเอาความต้องการสำคัญขององค์กรเข้าไว้ เป็นระบบในรูปแบบของ business process มากมาย ทำให้ผู้ใช้สามารถนำเอารูปแบบต่างๆ ของ business process ที่เตรียมไว้มาผสมผสานให้เกิดเป็น business scenario ที่เหมาะสมกับลักษณะทางธุรกิจขององค์กรของผู้ใช้ได้
3. สามารถจัดทำและเสนอรูปแบบ business process ที่เป็นมาตรฐานสำหรับองค์กรได้
การจัดทำ business process ในรูปแบบต่างๆ นั้นสามารถจัดให้เป็นรูปแบบมาตรฐานของ business process ได้ด้วย ทำให้บางกรณีเราเรียก ERP ว่า standard application software package
แนวโน้มของ ERP ยุคหน้า


กระบวนการพัฒนาระบบสารสนเทศ
1.1 ขอบเขตบูรณาการ
ก่อนยุค ERP นั้น ระบบสารสนเทศขององค์กรถูกสร้างโดยแบ่งแยกกันในแต่ละงาน และเชื่อมโยงแต่ละงานด้วยวิธีแลกเปลี่ยนไฟล์ข้อมูลเป็นครั้งคราว ด้วยเหตุนี้ จึงเกิดการล่าช้าในการประสานบูรณาการข้อมูลตามแนวนอนของแต่ละงาน ยังผลให้ การนำข้อมูลภายในองค์กรมาใช้ประโยชน์ในการบริหารนั้นล่าช้า ซึ่งระบบ ERP ขยายขอบเขตการบูรณาการสู่ระดับทั้งองค์กร และสามารถกำจัดการล่าช้าดังกล่าวได้
1.2 งานเป้าหมาย
การทำให้เป็นระบบงานนั้น โดยปกติแล้วเป้าหมายจะเริ่มจาก back office ซึ่งเป็นงานประจำที่มีรูปแบบตายตัว สามารถเปลี่ยนเป็นระบบอัตโนมัติได้ง่ายก่อน แล้วจึงขยายไปสู่ front office ซึ่งเป็นงานเฉพาะทางไม่มีรูปแบบตายตัว เช่น งานวางแผน งานออกแบบ
1.3 วัตถุประสงค์หลัก
วัตถุประสงค์หลักของช่วง non ERP คือ การประหยัดและลดต้นทุนของทุกงานในองค์กร ส่วนช่วง ERP นั้น วัตถุประสงค์หลักคือ ปฏิรูปกระบวนการทางธุรกิจ โยการบูรณาการกระบวนการทางธุรกิจทั้งหมดขององค์กรรวมกัน เป็นการรวมเข้าเป็นหนึ่งเดียวกับกลยุทธ์ขององค์กร
1.4 โครงสร้างพื้นฐาน IT และเวลาที่ใช้ในการพัฒนาระบบ
โครงสร้างพื้นฐาน IT นั้นเปลี่ยนจากระบบ Mainframe มาเป็นระบบ client & server และกลายมาเป็นระบบ IP based หรือ Web Application ในยุคของ Extended ERP และเวลาในการพัฒนาระบบก็ลดลงด้วย จากนี้ไปจะต้องมีระบบที่มีความสามารถในการสร้างระบบการปฏิรูปธุรกิจ และการปฏิรูปกระบวนการทางธุรกิจในเวลาที่สั้น เพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาวะแวดล้อมทางธุรกิจที่เร็วยิ่งขึ้นทุกวัน


 แนวโน้มของ ERP ยุคหน้าระบบ ERP ยุคหน้าซึ่ง E-Business จะเติบโตเต็มที่ จะได้รับการพัฒนายิ่งขึ้นไปจาก Extended ERP ซึ่งจะมีบทบาทในการรองรับสิ่งต่อไปนี้
1.1 งานหน้าร้าน (front office)
สำหรับ ERP ยุคหน้า เป้าหมายของสิ่งที่จะเชื่อมโยงระหว่างองค์กรธุรกิจนั้น ไม่ใช่เฉพาะการบริหารซัพพลายเชนของผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่แล้วเท่านั้น แต่จะต้องครอบคลุมไปถึงการวางแผน การออกแบบ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่อีกด้วย
1.2 ห่วงโซ่ของมูลค่าที่ไม่หยุดนิ่ง
ห่วงโซ่มูลค่าในปัจจุบันมีลักษณะปิด โดยประกอบด้วยสมาชิกหลักในองค์กรหรือบริษัทเดียวกัน ในอนาคตธุรกิจจะเป็นแบบเปิดและมีเทคโนโลยีการบูรณาการระบบข้ามองค์กรที่เรียกว่า Dynamic B2B มากขึ้น
1.3 กลยุทธ์เชิงรุก
ปัจจุบัน กุญแจของความสามารถในการแข่งขัน ได้เปลี่ยนจาก กลยุทธ์เพื่อตอบสนองรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาวะแวดล้อมทางธุรกิจ มาเป็น กลยุทธ์การที่รู้ถึงการเปลี่ยนแปลงล่วงหน้า ดังนั้น ERP ยุคหน้าจะต้องมีความสามารถที่จะวางแผน ปฏิบัติ และประเมินผลการปฏิรูปโครงสร้างอย่างฉับพลันทันทีได้


CRM

CRM
CRM ย่อมาจาก Customer Relationship Management คือ การบริหารความสัมพันธ์กับลูกค้า ซึ่งหมายถึงวิธีการที่เราจะบริหารให้ลูกค้ามีความรู้สึกผูกพันธ์กับสินค้า ,บริการ หรือองค์กรของเรา เมื่อลูกค้าเค้ามีความผูกพันธ์ในทางที่ดีกับเรา แล้วก็ลูกค้านั้นไม่คิดที่จะเปลี่ยนใจไปจากสินค้าหรือบริการของเรา ทำให้เรามีฐานลูกค้าที่มั่้นคง และนำมาซึ่งความมั่นคงของบริษัท ดังนั้น การที่จะรู้ซึ้งถึงสถานะความผูกพันธ์กับลูกค้าได้นั้น เราก็ต้องอาศัยการสังเกตุพฤติกรรมของลูกค้า แล้วนำมาวิเคราะห์หาความเกี่ยวข้องระหว่าง พฤติกรรมของลูกค้ากับกลยุทธ์ทางการตลาดของเรา กระบวนการทำงานของระบบ CRM มี 4 ขั้นตอนดังนี้
    1.Identify เก็บข้อมูลว่าลูกค้าของบริษัทเป็นใคร เช่น ชื่อลูกค้า ข้อมูลสำหรับติดต่อกับลูกค้า
    2.Differentiate วิเคราะห์พฤติกรรมของลูกค้าแต่ละคน และจัดแบ่งลูกค้าออกเป็นกลุ่มตามคุณค่าที่ลูกค้ามีต่อบริษัท
    3.Interact มีปฏิสัมพันธ์กับลูกค้าเพื่อเรียนรู้ความต้องการของลูกค้า และเพื่อสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าในระยะยาว
    4.Customize นำเสนอสินค้าหรือบริการที่มีความเหมาะสมเฉพาะตัวกับลูกค้าแต่ละคน
คุณสมบัติของ CRM

ความสามารถในการจัดการอย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็ว และสามารถในการ ประเมินความต้องการของลูกค้าล่วงหน้าได้ เพื่อให้การ ปฏิบัติงานสามารถเข้าถึงความต้องการของลูกค้าได้สูงสุด ยิ่งไปกว่านั้น การทำงานของ CRM ยังรวมถึงลักษณะเฉพาะที่โดดเด่นอีกจุดหนึ่ง นั่นคือการอำนวยความสะดวกให้ลูกค้า ในการรับข้อมูลที่ตัวเองสนใจ และทันต่อเหตุการณ์ เช่น ระบบ CRM สามารถแจ้งให้เจ้าของรถยนต์ทราบล่วงหน้าว่า รถของพวกเขาถึงเวลาอันสมควร ที่จะได้รับการตรวจเช็คจากศูนย์บริการ โดยระบบจะทราบถึงรายละเอียดของข้อมูลลูกค้าเพื่อใช้ ในการติดต่อ รวมถึงรายละเอียดเกี่ยวกับตัวรถ จดหมายแจ้งลูกค้า จะถูกส่งไปตามที่อยู่ที่เก็บบันทึกไว้ในช่วงเวลาที่กำหนด โดยมีรายละเอียดเกี่ยวกับการเข้ารับบริการตรวจเช็ครถคันดังกล่าว รวมถึงการเพิ่มความสะดวกให้แก่ลูกค้า ด้วยการแนะนำศูนย์บริการที่ใกล้ที่สุดให้ กระบวนการ CRM นี้ไม่ได้เป็นสิ่งใหม่ๆ ที่เพิ่งเกิดขึ้น จะเห็นได้ว่าบริษัทผลิตรถยนต์ได้ใช้ระบบนี้ เพื่อสร้าง ความสัมพันธ์กับลูกค้าเป็นประจำอย่างสม่ำเสมอ อาจจะเป็นทุกๆ ปี หรือทุกๆ ครึ่งปี ขึ้นอยู่กับนโยบายของแต่ละบริษัท ในปัจจุบันด้วยเทคโนโลยีที่ล้ำหน้าและการพัฒนาของซอฟต์แวร์ได้ช่วยอำนวยความสะดวกให้องค์กรสามารถเก็บรวบรวมข้อมูลลูกค้าได้อย่างมีระบบและนำมาใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ข้อได้เปรียบที่เห็นได้อย่างชัดเจน คือ ระบบการทำงาน ที่มีการนำเทคโนโลยีเข้ามาสนับสนุน ซึ่งมีความเที่ยงตรงกว่า การบริหารโดยคน และยังสามารถแสดงให้เห็นถึงทิศทาง และแนวโน้มในเรื่องต่างๆ อย่างชัดเจน เช่น อัตราการเติบโตของลูกค้า, ความจำเป็นที่จะต้องหาพนักงานใหม่และ การฝึกฝนทีมงาน และที่สำคัญที่สุดคือความสามารถในการให้

ประโยชน์ของระบบCRM
CRM ช่วยเพิ่มความสามารถในการให้บริการลูกค้าได้ดีขึ้น เช่น ใช้เว็บไซต์ในการให้ข้อมูลเกี่ยวกับสินค้า วิธีการใช้สินค้า และให้ความช่วยเหลือแก่ลูกค้าได้ตลอด 24 ชั่วโมง เป็นช่องทางให้ลูกค้าแนะนำติชมต่อบริการของบริษัทได้ง่าย ช่วยให้ลูกค้าสามารถ customize ความต้องการของตนเองได้ทันที เป็นต้น
CRM ช่วยพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างบริษัทกับลูกค้าให้ดีขึ้น ช่วยให้บริษัทรู้ความสนใจ ความต้องการ และพฤติกรรมการซื้อของลูกค้า ทำให้บริษัทสามารถนำเสนอสินค้าที่เหมาะสมกับลูกค้าได้ และช่วยให้บริษัทสามารถให้บริการหลังการขายแก่ลูกค้าตามที่ลูกค้าต้องการได้ การสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าในระยะยาวจะช่วยเพิ่ม loyalty ที่ลูกค้ามีต่อบริษัท ลดการสูญเสียลูกค้า ลดต้นทุนการตลาด เพิ่มรายได้จากการที่ลูกค้าซื้อซ้ำหรือแนะนำให้คนรู้จักซื้อสินค้าของบริษัท และนั่นหมายถึงกำไรของบริษัทที่เพิ่มมากขึ้น

SCM

SCM
โซ่อุปทาน หรือ Supply Chain หมายถึง ความพยายามทุก ๆ ประการ ที่จะทำให้เกิดความมีประสิทธิภาพในด้านการผลิต และการจัดส่งสินค้า หรือบริการ จากผู้ผลิตสินค้า ถึงผู้ซื้อ หรือลูกค้า โดยจะเน้นที่การทำให้กิจกรรมการสั่งซื้อวัตถุดิบ และส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์ เป็นไปอย่างราบรื่น และประหยัดที่สุดแม้ว่าหลายปีที่ผ่านมา ผู้ผลิต จะเป็นตัวจักรสำคัญในโซ่อุปทาน เพราะเป็นผู้ควบคุมปริมาณการผลิต และการจัดจำหน่าย แต่ปัจจุบัน ลูกค้า มีความสำคัญมากขึ้น เนื่องจากที่คุณภาพในการผลิตสินค้าและบริการแทบจะไม่แตกต่างกัน ดังนั้น การตอบสนองความต้องการของลูกค้าให้เป็นไปด้วยความพึงพอใจสูงสุด จึงเป็นกลยุทธ์ที่สำคัญที่จะทำให้บริษัทมีความได้เปรียบในการแข่งขัน ซึ่งบริษัทที่ตระหนักถึงความสำคัญ และเรียนรู้การจัดการกับสายโซ่อุปทานอย่างมีประสิทธิภาพ ย่อมจะนำมาซึ่งความได้เปรียบในการแข่งขันต้องยอมรับว่า โซ่อุปทาน ประกอบด้วยการผลิต และการกระจายของสินค้าหลากหลายรูปแบบที่แตกต่างกัน ทั้งในแง่ของเวลาการจัดส่ง ต้นทุน และความต้องการของลูกค้า ซึ่งปัจจัยทั้งหมดล้วนเปลี่ยนแปลงง่าย และทำนายได้ยาก การจัดการกับโซ่อุปทานที่มีประสิทธิภาพ จึงเปรียบเสมือนกับการรักษาสมดุลของสิ่งที่สลับซับซ้อนซึ่งต้องการการเตรียมความพร้อมที่ดีเยี่ยม และมีการวางแผนที่เหมาะสมพร้อมรับมือกับข้อมูลในอนาคตที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา